คุณครู

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

web blog

Web Blog  คือ Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ
และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ใช้อย่างไร
1.หาเว็บที่ให้สามารถให้เช่า blog ได้
2.สมักรเป็นสมาชิกของเว็บนั้น
3.เมื่อเราเป็นสมาชิกแล้วก็สามารตกแต่ง blog ของเราได้
อ้างอิง:http://iam.hunsa.com/tste5znz69/article/23039

intranet

2.1 อินเทอร์เน็ต คืออะไร
    อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
      IP (Internet protocal) Address
      คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง
      ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
      IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข 1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254 1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534 1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
2.2 ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
    2.2.1 เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้ 2.2.2 เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น 2.2.3 เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น 2.2.4 เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น 2.2.5 ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง 2.2.6 เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร
2.3 ประวัติความเป็นมา
    2.3.1 ประวัติในระดับนานาชาติ
    - อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
    - พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
    - พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
    - การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
    - DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
    - ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก 2.3.2 ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
    - อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
อ้างอิง:http://www.thaiall.com/internet/internet02.htm

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

WBI

WBI
บทเรียน Onweb หรือ เว็บช่วยสอน (WBI) คืออะไร ?          คือ โปรแกรมไฮเปอร์มีเดียที่ช่วยในการสอน โดยการใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะ และทรัพยากรของอินเทอร์เน็ต (WWW) มาสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกทาง (Khan, 1997) (อ้างใน  ปรัชญนันท์ นิลสุข : 2543)
         การเรียนการสอนผ่านเว็บ (WBI) ความหมายโดยรวม หมายถึง การใช้โปรแกรมสื่อหลายมิติที่อาศัยประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ มาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีลักษณะที่ผู้สอนนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน (สรรรัชต์ ห่อไพศาล : 2544)
             ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บ (WBI) ที่เป็นมิติใหม่ของเครื่องมือ และกระบวนการในการ เรียนการสอน ได้แก่
1. การเรียนการสอนสามารถเข้าถึงทุกหน่วยงานที่มีอินเทอร์เน็ตติดตั้งอยู่
2. การเรียนการสอนกระทำได้โดยผู้เข้าเรียนไม่ต้องทิ้งงานประจำเพื่อมาเข้าชั้นเรียน
3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน เช่น ค่าที่พัก ค่าเดินทาง
4. การเรียนการสอนกระทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง
5. การจัดสอนหรืออบรมมีลักษณะที่ผู้เข้าเรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้เกิดกับผู้เข้าเรียนโดย ตรง
6. การเรียนรู้เป็นไปตามความก้าวหน้าของผู้รับการเรียนการสอนเอง
7. สามารถทบทวนบทเรียนและเนื้อหาได้ตลอดเวลา
8. สามารถซักถาม หรือเสนอแนะ หรือถามคำถามได้ด้วยเครื่องมือบนเว็บ
9. สามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างผู้เข้ารับการอบรมได้โดยเครื่องมือสื่อสารในระบบ อินเทอร์เน็ตทั้งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือห้องสนทนา (Chat Room) หรืออื่น ๆ
10. ไม่มีวิธีการมากนัก
อ้างอิง: [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http//school.obec.go.th  20 ก.พ.52

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronics media)
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนจะออกมาในลักษณะของสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia)  แสดงผลออกมาหลายรูปแบบตามที่โปรแกรมไว้  เช่น  มีเสียง  เป็นภาพเคลื่อนไหว  สามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์  ปัจจุบันสื่อประเภทนี้มีหลายลักษณะ ดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นซอฟแวร์ทางการศึกษาชนิดหนึ่ง เป็นสื่อที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และมีผลการตอบสนองได้รวดเร็วกว่าสื่อประเภทอื่น ยกเว้นสื่อบุคคล  ลักษณะเป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน  ส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองเป็นหลัก  มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในแต่ละบทเรียนจะมีตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ  
2. สื่อการเรียนการสอนบนเครือข่าย
ปัจจุบันสถาบันการศึกษาได้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการเรียนรู้ที่รู้กันในนาม
อีเลิร์นนิ่ง (E-learning) ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก การเรียน ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการเรียนตลอดชีวิตที่สามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเวลา  สื่อการเรียนการสอนบนเครือข่ายมีการพัฒนาหลายรูปแบบ เช่น
                  1.  MSU-Cyberclass  เป็นระบบการจัดการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS)  รูปแบบหนึ่งที่อาจารย์ใช้จัดการสอน โดยบรรจุเนื้อหา กิจกรรม แบบฝึกหัด การวัดผล ห้องสนทนา นิสิตสามารถ Login เข้าไปเรียนได้  ในบางมหาวิทยาลัยมีการลงทะเบียนเรียนออนไลน์ จนจบหลักสูตรก็มี (http://cyberclass.msu.ac.th)
                    2.  บทเรียนบนเครือข่าย  (Web based course) เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ใช้    เว็บเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตและเผยแพร่บทเรียน ผู้เรียนศึกษาได้ในระบบออนไลน์ หรือบันทึกลงในแผ่น CD เพื่อนำไปศึกษาในสถานที่ต่างๆ (http://wbc.msu.ac.th/wbc1/main_wbc.asp)
                    3.  วีดิทัศน์ตามสั่ง (Video On Demand) เป็นระบบบริการสัญญาณภาพหรือเสียงผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถรับชมการสอนในรายวิชาหรือวีดิทัศน์ประกอบการสอน  สารคดี และรายการต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ (http://vod.msu.ac.th/default_vod.asp)
              3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  (Electronics Books)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  คือ หนังสือหรือเอกสารที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพา หรือทางอินเทอร์เน็ต ได้  ลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากหนังสือฉบับตีพิมพ์ คือ ความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหา และการที่ผู้อ่านสามารถอ่าน พร้อมๆ กันได้
4.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Journals)
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง วารสารรูปแบบใหม่ที่มีการจัดเก็บ บันทึก และเผยแพร่ในรูปของแฟ้มคอมพิวเตอร์ (สื่อดิจิทัล) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเข้าถึงหรือสืบค้นได้โดยการสั่งซื้อหรือบอกรับเป็นสมาชิกจากฐานข้อมูลออนไลน์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือจากฐานข้อมูลซีดีรอม
5.ฐานข้อมูล (Database)
ฐานข้อมูล คือ  มวลสารสนเทศที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน มักจัดเก็บสะสมไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในรูปของแฟ้มข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานได้หลายๆ ด้าน โดยมีชุดคำสั่งระบบจัดการฐานข้อมูล ทำหน้าที่ควบคุมการจัดการและการใช้ฐานข้อมูล

อ้างอิง:elearning.msu.ac.th/ge/ge51/0012003/d


ห้องเรียนสีเขียว

ห้องเรียนสีเขียว (Green Learning Room )
pic-sch1.JPG (18445 bytes)
การดำเนินงาน

  • ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า พลังงานอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมให้สอดแทรก ทุกกลุ่มประสบการณ์ ทุกรายวิชา และทุกระดับชั้น
  • จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และโรงเรียนในจังหวัด
  • จัดทำบัตรงานให้สัมพันธ์กับเนื้อหาวิชาทุกกลุ่มประสบการณ์ ทุกรายวิชา ทุกระดับชั้น
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและที่บ้าน
  • จัดทำแผนการใช้ห้องเรียนสีเขียวให้ทุกชั้นได้เข้าเรียน


กิจกรรมในห้องเรียนสีเขียว
หน่วยที่ 1 ไฟฟ้ามีประโยชน์มากมาย
หน่วยที 2 แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
หน่วยที่3 เปรียบเทียบวิธีใช้อุปกรณ์
หน่วยที่ 4 ผลกระทบจากการใช้ไฟฟ้าเปลือง
หน่วยที่ 5 ร่วมใจประหยัดไฟฟ้า
หลักการของกิจกรรม เล่นสนุก มีความสุขใจ ได้ความรู้ นำสู่การปฏิบัติ


วัตถุประสงค์

  • เพื่อปลูกฝังเจตคติที่ดีในการประหยัดไฟฟ้า พลังงานอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อม ให้สามารถปฏิบัติได้ จนเป็นนิสัยถาวร
  • เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาตนเองนำไปสู่การปฏิบัติจนเป็นปกตินิสัย
  • เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันในครอบครัว และสามารถให้ คำแนะนำผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
  • ปลูกจิตสำนึก ฝึกประหยัดไฟฟ้า รู้คุณค่าทรัพยากร เอื้ออาทรสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง:http://www.lukkae.th.edu/GreenClassroom.htm

สื่อหลายมิติ

  สื่อหลายมิติ

          สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน           การจัดทำสื่อหลายมิติ จัดทำโดยใช้กระบวนการของสื่อประสมในการผลิตเรื่องราวและบท เรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ นั่นเอง โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์ กลางการเขียนเรื่องราว ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้ หลายโปรแกรมแต่ที่รู้จักกันดี เช่น ToolBook AuthorWare Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น          การนำสื่อหลายมิติมาใช้ในการเรียนการสอน 


             มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย

อ้างอิง : บวร เทศารินทร์. นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา. [ออนไลท์]. เข้าถึงได้ 
                          จาก : http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm. ( วันทีค้นข้อมูล : 19 กรกฏาคม 2552 ).

ห้องเรียนมีชีวิค

ห้องเรียนเสมือนจริง

          การเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้
ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom) ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพ็จในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)           โดยสรุป กล่าวได้ว่าได้ว่า ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน 
อ้างอิง:http://gotoknow.org/blog/new429502/279292

บทเรียนสำเร็จรูปเพื่อการศึกษา

บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรม หมายถึง การสอนโดยใช้บทเรียนที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักจิตวิทยาให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยเสนอความรู้ให้ผู้เรียนเป็นขั้น ๆ ในแต่ละขั้นจะมีคำถามให้ผู้เรียนตอบพร้อมเฉลย คำตอบของผู้เรียนนั้น ถูกหรือผิด แต่ละลำดับขั้นเรียบกว่า กรอบ หรือ เฟรม โดยมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างกระตือรือร้น
2. ผู้เรียนทราบผลการเรียนทันทีที่แสดงพฤติกรรมตามคำสั่ง
3. ผู้เรียนได้พบกับความสำเร็จด้วยตนเอง
4. แบ่งเนื้อหาเป็นตอน ๆ เรียงจากง่ายไปหายาก
ประเภทของบทเรียนสำเร็จรูป
1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง มีลักษณะ ดังนี้
1.1 มีข้อความเป็นหน่อยหรือกรอบย่อย ๆ เฉลี่ยแล้วมีความยาวประมาณ 2 ประโยค
1.2 ให้นักเรียนตอบด้วยคำตอบสั้น ๆ ซึ่งจะมีเฉลยคำตอบในกรอบถัดไป
1.3 เสนอความรู้เป็นขั้นสั้น ๆ จากง่ายไปหายาก
1.4 เสนอความรู้เรียงตามลำดับต่อเนื่องกันไปตั้งแต่กรอบแรก จนจบ
2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเสขา หรือบทเรียนสำเร็จรูปแบบเลือกตอบ เพราะผู้เรียนต้องเลือกคำตอบที่ดีที่สุดจากตัวเลือกที่มีให้หลายอัน ตัวบทเรียนมักทำเป็นสาขาแตกแขนงออกไปตามลักษณะคำตอบของนักเรียน นักเรียนทำถูกจึงจะได้รับอนุญาตให้เรียนข้อต่อไป ถ้าทำผิดจะต้องเรียนข้อนั้นจนทำให้ถูกต้อง ลักษณะเด่นของบทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา คือมีคำอธิบายว่า “ทำไม” คำตอบของผู้เรียนจึงถูก หรือเพราะ เหตุไรจึงผิด บทเรียนจะดำเนินไปเช่นไร ก็ขึ้นอยู่กับคำตอบของนักเรียน ถ้าผิดก็จะได้รับคำอธิบายเพิ่มเติม ถ้าทำได้ถูกต้องก็จะเรียนบทเรียนอื่น ๆ ต่อไป
หลักในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
1.ควรทำให้บทเรียนมีเนื้อหาสาระมีคุณค่าต่อการเรียน เลือกเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง สอดคล้องกับชีวิตของผู้เรียนและทันสมัย
2. ควรให้นักเรียนมองเห็นข้อแตกต่างและนำความรู้ที่ได้ไปขยายและใช้ประโยชน์
3.ควรทำบทเรียนให้น่าสนใจ
4. ควรนำไปทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไข
โดยคำนึงถึงนักเรียน สิ่งที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ เนื้อหาวิชา วิธีสอน ค่าใช้จ่ายในการจัดทำและชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป
ข้อดีของบทเรียนสำเร็จรูป
1. นักเรียนมีโอกาสได้เรียนด้วยตนเองและสนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ช่วยให้ครูทำงานน้อยลง พูดน้อยลง มีเวลาเตรียมบทเรียนต่อไป
3. แก้ปัญหาการขาดแคลนครู
4. แก้ปัญหานักเรียนเรียนช้า แต่ถูกเพื่อน ๆ เยาะเย้ยเมื่อตอบผิด
ข้อจำกัดของบทเรียนสำเร็จรูป
นักเรียนต้องซื่อสัตย์ ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ถ้าไม่ซื่อสัตย์ จะไม่ได้ผลอีกทั้งไม่ส่งเสริมคุณธรรมที่ดี
อ้างอิง:http://area.obec.go.th/mukdahan1/web/board_view.php?b_id=56&bcat_id=3
            
E-learning
ความหมายและลักษณะสำคัญของ  e-learning
                ความหมายของ e-learning  มีผู้ที่ให้ความหมายหรือคำจำกัดความไว้หลายรูปแบบ แต่จะข้อสรุปคร่าว ๆ ไว้ ดังนี้  e-learning  คือ  เทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาศัยระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตเข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนนั้นมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

วิวัฒนาการของการใช้ e-learning  ในประเทศไทย
                ประเทศไทยนั้นได้มีการนำเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนการสอน  เข้ามาใช้เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว  โดยระยะ เริ่มตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในยการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์  จากนั้นก็พัฒนามาเป็น สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI  ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนามาเป็น WBI  หรือการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ  ซึ่งสามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสื่อ CAI  และเทคโนโลยีล่าสุดก็คือ  e-learning  ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในขณะนี้  เพราะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงในการจัดการเรียนการสอน ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเองเกิดความสะดวกและประหยัดเวลาได้มาก สามารถสอนเนื้อหาและติดตามผลการเรียนของผู้เรียนได้อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
               
รูปแบบการพัฒนา e-learning  ที่ใช้ในประเทศไทย
                การพัฒนา  e-learning   ที่ใช้ในประเทศไทย พบว่าหน่วยงานแต่ละหน่วยที่ได้นำเอาเทคโนโลยี  e-learning  ไปใช้  ได้พัฒนาระบบ e-learning  ของตนเองซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป  ควรจะมีการจัดตั้งหน่วยงานที่เข้ามาดูแลและรับผิดชอบโดย  หรือจะพัฒนาบุคลากรให้เป็นผุ้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญก็ได้ แต่ปัญหาก็มีอยู่ว่ายังขาดงบประมาณในการสนับสนุน

การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ e-learning 
                การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ e-learning   ควรจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบโดยตรง และงบประมาณก็ควรมีการสนับสนุนอย่างเต็มที่เพราะ

ปัญหาการพัฒนา e-learning    ในประเทศไทย
                สำหรับปัญหาการพัฒนา  e-learning    ในประเทศไทย อาทิเช่น  ปัญหาการขาดแคลนบุคลกรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี  e-learning   ปัญหาด้านงบประมาณที่ช่วยในการสนับสนุนการจัดทำ  ปัญหาในเรื่องของการขาดความพร้อมในหลายๆ อย่างส่งผลให้  ผลงานที่ได้ยังไม่ได้มาตรฐานเพียงพอและที่สำคัญในเรื่องราคาของซอฟแวร์ยังมีราคาสูงจนเกินไป  ปัญหาต่างๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา e-learning    ในประเทศไทยของเรา ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไขเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในบ้านเราเพื่อทัดเทียมกับนานาประเทศ
อ้างอิง:http://portal.in.th/inno-cholticha/pages/316/
         

ข้อดีและข้อด้อยของ CAI และการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้กับผู้ต้องขัง

ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  • ผู้เรียนสามารถศึกษาบทเรียนด้วยตัวเองได้โดยไม่จำกัดเวลา โดยไม่ต้องรอครูหรือเข้าชั้นเรียน
  • หากไม่เข้าใจสามารถดูหรือเรียนซ้ำได้  บทเรียนใดเข้าใจแล้ว สามารถผ่านไปเรียนบทอื่นได้โดยไม่ต้องรอให้บทนั้นๆจบก่อน
  • ช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการงานบริหาร ครูผู้สอนจะได้มีเวลาไปปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยและมีเวลาให้กับนักเรียนมากขึ้น เช่น การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อสอบ การเก็บประวัตินักเรียนเฉพาะวิชาที่สอนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการให้คำปรึกษา และช่วยในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของวิชาที่สอน
  • การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูผู้สอนสามารถ วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้เรียน
  • คอมพิวเตอร์ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน  เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกและใหม่
  • ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการ บันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆ  ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนขั้นต่อไปได้อย่างเที่ยงตรง
  • ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง  ทำให้สามารถนำมาใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี  โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละ คนและแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
  • ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า สามารถเรียนไปตามความสามารถของตน
  • เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการคบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำมาใช้
ข้อด้อยของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  • ผู้เรียนจะไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนนักเรียนคนอื่นๆ   ลดโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  โดยเฉพาะผู้เรียนที่อยู่ในวัยเด็ก จะทำให้การเรียนรู้ระบบการทำงานเป็นกลุ่มลดลง ขาดพัฒนาการด้านนี้
  • การเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  เพราะจะไม่สามารถบังคับหรือกำหนดเวลาการเรียนให้ตัวเองได้
  • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน แม้จะมีความยืดหยุ่นและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้พอสมควร แต่ก็ไม่เหมือนกับการเรียนในชั้นเรียนโดยตรงกับครู ซึ่งความยืดหยุ่นของการเรียนกับครูผู้สอนโดยตรงจะมีความยืดหยุ่นอย่างมากเนื่องจากเป็นการระหว่างคนกับคน มิใช่คนกับคอมพิวเตอร์
  • ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่างๆ  เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะลดลงมากแล้วก็ตาม  แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้น จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายตลอดจน การดูแลรักษาด้วย
  • -  การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้นนับว่ายังมีน้อย  เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่นๆ ทำให้โปรแกรมบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวนและขอบเขตจำกัดที่จะ นำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
  • ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน  เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน  เป็นต้นว่า  ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของ ไอบีเอ็มไม่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของแม็กคินทอชได้
  • การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น  นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา  สติปัญญา  และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง  ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
  • เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวาง โปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า  จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้  ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
  • ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่  อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอนทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้กับผู้ต้องขัง
สำหรับการจัดการศึกษาแก่ผู้ต้องขัง  การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้มีขีดจำกัดอยู่มาก  เนื่องจากการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังใช้คอมพิวเตอร์เป็นดาบสองคมที่อาจมีผลกระทบมากหากมีการนำมาใช้ในทางที่ผิด  เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมจะต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และเข้มงวดกวดขันดูแลอย่างใกล้ชิด อีกทั้งมีข้อจำกัดทั้งทางด้านจำนวนคอมพิวเตอร์และจำนวนผู้เรียน....

อ้างอิง:http://br.correct.go.th/eduweb/index.php/eduessay/44-educational-knowledge/62-cai.html

e-book

e-book คืออะไร
ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ eBook หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ eBook เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นเอกสารในรูปแบบดิจิตัลที่นำเสนอข้อมูลในลักษณะข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ
ที่จัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่สัมพันธ์ของเนื้อหาถึงกันได้ผ่านจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเนื้อหานั้นจะอยู่ในแฟ้มเดียวกันหรืออยู่คนละแฟ้ม หากเป็นการเชื่อมโยงข้อความที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข เรียกว่าข้อความหลายมิติ (hypertext) และหากข้อมูลนั้นเป็นการเชื่อมโยงลักษณะภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว เรียกว่าสื่อหลายมิติ (hypermedia)โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อ่านได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป
อ้างอิง:http://www.e-book4share.com/index.php/2010-02-03-04-28-03/34-2010-02-03-01-35-33/48-e-book

รูปแบบของ E-Book  E-Book เป็นไฟล์ที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ แต่ ไม่ได้แสดงถึงคำจำกัดความที่ลงลึกไปถึงรายละเอียดว่าสร้างจากโปรแกรมอะไร ต้องมีรูปแบบไฟล์แบบไหน ทำให้ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน   E-Book จะมีลักษณะเป็นไฟล์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์จะมี format หรือไฟล์รูปแบบนามสกุลต่างๆ ที่เป็น e-book ได้แก่ ไฟล์นามสกุล pdf, rtf, xml,html ฯลฯ    แต่ที่นิยมใช้มากเป็นไฟล์ประเภทคือ  pdf  และ html เพราะนอกจากจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไฟล์ทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติอื่น เช่น การสร้างสารบัญ การใส่ไฟล์รูปภาพ เสียง หรือวีดีโอ

eBook Software   eBook Software คือโปรแกรมที่ใช้ในการสร้าง และอ่าน eBook โดยปกตินิยมทำเป็นโปรแกรมชุดที่ประกอบด้วยโปรแกรมสร้าง (eBook Editor หรือ eBook Builder) และโปรแกรมอ่าน (eBook Reader) แยกจากกันเพื่อความสะดวกและเหมาะสมในการสร้าง และอ่าน eBook 


ความสำคัญของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1. สามารถย้อนกลับเพื่อทบทวนหากไม่เข้าใจ และสามารถเลือกอ่านได้ตามเวลาและสถานที่ที่ตนเองสะดวก
2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพ และเสียง ทำให้เกิดความตื่นเต้นและไม่เบื่อหน่าย
3. ช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
4. สามารถทำสำเนาได้อย่างสะดวกทั้งสำเนาในรูปเอกสารและสำเนาลงในแผ่นซีดีรอม หรือสำเนาลงในฮาร์ดดิสก์
5. ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านหัวข้อที่ตนสนใจข้อใดก่อนก็ได้ และสามารถย้อนกลับไปกลับมาในเอกสารหรือกลับมาเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
6. สามารถแสดงทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงได้พร้อมกันหรือจะเลือกให้แสดงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
7. สะดวกในการจัดเก็บข้อมูล สามารถเชื่อมโยง ข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพ เคลื่อนไหว และเสียงที่อยู่คนละที่เข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ยังสามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้สามารถปรับปรุงหนังสือให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ ได้เป็นอย่างดี
8. ผู้อ่านสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่กำลังศึกษาจากแฟ้มเอกสาร อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงอยู่ได้อย่างไม่จำกัดจากทั่วโลก

CAI คืออะไร

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) คืออะไร?

CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4.การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน

ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

* ผู้สอนจะต้องมีความพร้อม ความชำนาญในการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
* ผู้สอนควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้รอบคอบ ก่อนนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสม
* การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ๆ
* ผู้ที่สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรที่คำนึงเวลาในการผลิตว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลาเท่าไร

อ้างอิง:http://umuhanee.blogspot.com/2008/07/cai.html